Connect to DB
  หัวข้อ : "คนกรุงเทพฯ คิดอย่างไรกับการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549"
  วัตถุประสงค์ในการสำรวจ :.
 

             เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ในประเด็นต่อไปนี้
               1. การเลือกตั้งเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในขณะนี้หรือไม่
               2. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
               3. ความเชื่อถือในข้อมูลหลักฐานที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่ามีแกนนำของพรรคไทยรักไทย
                   อยู่เบื้องหลังการว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
               4. ความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์โปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนี้
               5. ความคิดเห็นต่อคะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้จากการเลือกตั้งว่าจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้นจากข้อกล่าวหา
                   เรื่องการขาดจริยธรรมได้หรือไม่
               6. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยภายหลังการเลือกตั้ง

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                 การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling)   โดย การสุ่มเขตการปกครองจำนวน 35 เขตจาก 50 เขต   จากนั้น สุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,475 คน   เป็นชายร้อยละ 47.1   และหญิงร้อยละ 52.9
               กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.3   อายุ 26-35 ปีร้อยละ 30.4   อายุ 36-45 ปีร้อยละ 24.2   และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 15.1
               กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 55.3   ปริญญาตรีร้อยละ 40.6   และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 4.1
               กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.5   ค้าขายและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 24.5   รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.9     พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 22.7   พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 6.2   นิสิตนักศึกษาร้อยละ 15.5   และอื่นๆ
ร้อยละ 2.7
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน    3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :   21 - 22  มีนาคม  2549
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 23  มีนาคม   2549
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
  ผลการสำรวจ :
 
             คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 37.6 เห็นว่าการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา การเมืองไทยในขณะนี้  ขณะที่
ร้อยละ 36.0 เห็นว่าการเลือกตั้งคือทางออกที่ดีที่สุด และร้อยละ 26.4 ไม่แน่ใจ
             เมื่อถามถึงความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ร้อยละ 56.4 ระบุว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  โดยในจำนวนนี้
ตั้งใจจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครร้อยละ 33.6   และจะงดออกเสียงร้อยละ 22.8    ขณะที่ร้อยละ 22.3 ระบุว่าจะไม่ไปเลือกตั้ง   และร้อยละ 21.3
ยังไม่แน่ใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่
            สำหรับกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเปิดเผยว่ามีแกนนำของพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลัง
การว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ บางพรรคให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัคร สส. ของพรรคไทยรักไทยเพียงคนเดียวเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง
พรรคไทยรักไทยต้องทำคะแนนให้ได้ถึง 20% นั้น   คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 36.9 ไม่เชื่อในข้อมูลหลักฐานที่เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์นำมา
เปิดเผย    ขณะที่ร้อยละ 35.4 เชื่อ   และร้อยละ 27.7 ไม่แน่ใจ
            ส่วนความเชื่อมั่นในความโปร่งใสบริสุทธิ์ของการเลือกตั้งนั้น  ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.6 ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไปอย่างโปร่งใส
(โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 23.1   และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 45.5 )    มีเพียงร้อยละ 31.4  ที่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างโปร่งใส (โดย
เชื่อมั่นมากร้อยละ 10.1   และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 21.3 )
            เมื่อถามว่าคะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการขาด
จริยธรรมในการบริหารประเทศได้หรือไม่   ร้อยละ 46.4 ระบุว่าไม่ได้   ขณะที่ร้อยละ 21.3 ระบุว่าได้   และร้อยละ 32.3 ไม่แสดงความเห็น
            สำหรับความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งนั้น   ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมือง
ของไทยจะไม่ดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน   (โดยร้อยละ 36.2 เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน   และร้อยละ 16.6 เชื่อว่าจะแย่กว่าปัจจุบัน)   มีเพียง
ร้อยละ 19.2  ที่เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น   และร้อยละ 28.0 ไม่แน่ใจ
   
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
   

ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์

   
 
 จำนวน
ร้อยละ
เพศ :
            ชาย
695
47.1
            หญิง
780
52.9
อายุ :
            18 – 25 ปี
447
30.3
            26 – 35 ปี
448
30.4
            36 – 45 ปี
357
24.2
            46 ปีขึ้นไป
223
15.1
การศึกษา :
             ต่ำกว่าปริญญาตรี 816 55.3
             ปริญญาตรี 599 40.6
             สูงกว่าปริญญาตรี 60 4.1
อาชีพ :
             ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 258 17.5
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 362 24.5
             รับจ้างทั่วไป 161 10.9
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 335 22.7
             พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 90 6.2
             นิสิตนักศึกษา 229 15.5
             อื่น ๆ 40 2.7
รวม 1475 100.0
     
 

ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา
               การเมืองไทยในขณะนี้ใช่หรือไม่

   
  จำนวน ร้อยละ
ใช่
531
36.0

ไม่ใช่

555
37.6
ไม่แน่ใจ
389
26.4
     
   

ตารางที่ 3: ความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้

   
  จำนวน ร้อยละ

ไป     โดย
              - จะลงคะแนนเลือกผู้สมัคร                                 33.6%
              - จะงดออกเสียง                                               22.8%

832
56.4
ไม่ไป
329
22.3

ไม่แน่ใจ

314
21.3
     
   

ตารางที่ 4: ความเชื่อถือในข้อมูลหลักฐานที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกมา
               ระบุว่ามีแกนนำของพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังการว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กๆ บางพรรค
               ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่มีผู้สมัคร สส. ของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว เพื่อแก้
               ปัญหาเรื่องพรรค
ไทยรักไทยต้องทำคะแนนให้ได้ถึง 20%

   
  จำนวน ร้อยละ
เชื่อ
522
35.4

ไม่เชื่อ

543
36.9
ไม่แน่ใจ
410
27.7
     
   

ตารางที่ 5: ความเชื่อมั่นในความโปร่งใสบริสุทธิ์ของการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549

   
  จำนวน ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก
149
10.1
ค่อนข้างเชื่อมั่น
315
21.3

ไม่ค่อยเชื่อมั่น

671
45.5
ไม่เชื่อมั่นเลย
340
23.1
     
   

ตารางที่ 6: คะแนนเสียงที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งจะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลุดพ้น
               จากข้อกล่าวหาเรื่องการขาดจริยธรรมในการบริหารประเทศได้หรือไม่

   
  จำนวน ร้อยละ
ได้
314
21.3

ไม่ได้

685
46.4
ไม่มีความเห็น
476
32.3
     
   

ตารางที่ 7: ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้ง

   
  จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน
283
19.2
แย่ลงกว่าปัจจุบัน
245
16.6

ไม่แตกต่างจากปัจจุบัน

534
36.2
ไม่แน่ใจ
413
28.0
     
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( %E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF%20%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%202%20%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%202549 )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776